วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ชุมชนบวรรังษี ข้อมูลเฟสที่ 1


ประวัติ

ประวัติชุมชน
จากวัดรังษีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 การก่อตั้งวัดบวรนิเวศวิหารขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และการยุบรวมวัดรังษีเป็นคณะรังษีขึ้นตรงกับวัดบวรนิเวศวิหารในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 คือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ในแง่ของศาสนสถาน ส่วนการก่อตั้งของชุมชนริมคลองหลังวัด แม้ไม่มีที่มาที่ไปแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ก็ชี้ให้เห็นว่าชุมชนข้างคลองบวรรังษีแห่งนี้สามารถย้อนความเป็นมาได้นับร้อยปี เช่นเดียวกัน ในอดีตที่คูคลองโยงใยทั่วเมืองและยังคงเป็นทางสัญจรหลัก เส้นทางเดินเท้าของแต่ละชุมชนจึงค่อนข้างเล็ก พอเดินสวนกันได้ด้วยพื้นที่ในตรอกเล็กๆที่ประกอบด้วยบ้านของช่างแขนงต่างๆ บ้านข้าราชการ และบ้านของเหล่าพ่อค้าแม่ขาย แม้จะเป็นตรอกเล็กๆ แต่คนในชุมชนรู้จักสนิทสนม และถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมาโดยตลอดแม้จะต่างศาสนาก็ตาม
ชุมชนบวรรังษี
ชุมชนบวรรังษีเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีอดีตที่เก่าแก่ในย่านบางลำพูยาวนานกว่า 100 ปี ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างวัดบวรรังษี ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่ดั้งเดิมส่วนใหญ่มักเป็นเจ้านาย มีวังสร้างอยู่มาก ต่อมาจึงเริ่มมีเหล่าช่างแขนงต่างๆเข้ามาอาศัย แต่ที่เลื่องชื่อคือ ช่างตีทองคำเปลว  นิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบันว่า บ้านช่างทองสมัยก่อนคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพตีทองคำเปลว ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 บ้านเท่านั้นที่ยังทำอยู่ สาเหตุที่เหลือช่างทำทองเพียงเท่านี้นั้นเนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด เพราะการตีทองเป็นงานที่เหนื่อยมาก รุ่นลูกรุ่นหลานจึงเลือกไปทำอาชีพอื่นที่มีความสบายมากกว่า
ในปี พ.. 2526 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ ทำให้ชาวบ้านในชุมชนกระจัดกระจายกันไป ส่วนมากจะย้ายไปแถบตลิ่งชัน เพราะรัฐให้ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย และในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนก็สร้างและซ่อมแซมบ้านขึ้นใหม่โดยเช่าที่ดินของวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อบ้านเสร็จก็ย้ายกลับมาอยู่ที่ชุมชนนี้ตามเดิม
ในปัจจุบัน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นคนที่เข้ามาเช่าบ้านในชุมชน รองลงมาคือประกอบอาชีพส่วนตัว และมีส่วนน้อยที่เป็นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีวัฒนธรรมคือ การที่ประชาชนในชุมชนร่วมใจกันจัดงานในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่นงานปีใหม่ วันสงกรานต์ และงานสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ข้อมูลด้านที่ตั้งและอาณาเขต


ชุมชนบวรรังสีตั้งอยู่ที่ ถนนตะนาว แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร เป็นกลุ่มเขต 1. กลุ่มกรุงเทพกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับวัดบวรนิเวศ ทิศใต้ติดกับชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน ทิศตะวันออกติดกับถนนดินสอ และทิศตะวันตกติดกับถนนตะนาว


ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี



 ชุมชนบวรรังสีมีประธานชุมชน 2 คน
คนที่ 1 : นายสันติ เหลืองจินดา
อาชีพ : เจ้าของร้านเพชร
ทำหน้าเป็นประธานชุมชนมาประมาณ 17 ปี อยู่ที่นี่มาประมาณสี่สิบกว่าปี

คนที่ 2  : นายเพิ่มพูน  ซิ้มปานอุทัย เป็นฝ่ายหารายได้
ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเพราะยังไม่ได้ขอสัมภาษณ์ ยังหาโอกาสเข้าพบไม่ได้


ชุมชนนี้ต้องมีฝ่ายหารายได้เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ใช้จ่ายปีนึงอาจจะเป็นล้าน เพราะเรามีจัดงานสงกรานต์ มีงานแขกบ้านแขกเมือง องค์สมเด็จเราก็ต้องจัดสังฆทาน สังฆทานหลวงเนี่ยชุดละสองพันห้า ต้องหารายได้เข้าชุมชนอยู่ตลอด ฉะนั้นคนจะไม่ค่อยยอมเป็นประธานชุมชนทีนี่เพราะต้องหารายได้

บทสัมภาษณ์บางส่วนจากนายสันติ เหลืองจินดา ประธานชุมชนบวรรังสี
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562


 ประวัติความเป็นมาของชุมชน


 ชุมชนบวรรังสีจัดเป็นชุมชนประเภทแออัด ถูกประกาศเป็นชุมชนที่จัดตั้งตามระเบียบกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2535 มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ อายุของชุมชนประมาณ 100 กว่าปี  เจ้าของที่ดินคือวัดบวรนิเวศ โดยระบุสัญญาให้ประชาชนเช่าเป็นรายปี โดยในท้ายสัญญาเช่านั้นมีการระบุว่าหากทางวัดมีความจำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่ ชาวบ้านจะให้ความยินยอมในการย้ายออกไปแต่โดยดี จึงไม่พบปัญหาการไล่รื้อในชุมชนแห่งนี้



ชุมชนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชนบวรรังสี 180162 by ฉี



ในอดีตคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้อยู่แล้ว โดยประกอบอาชีพตีทองคำเปลว แต่เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่ในปีพ.ศ. 2526 ทำให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ก็กระจัดกระจายกันไปอยู่ที่อื่น และในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนก็สร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้านขึ้นใหม่โดยเช่าที่ดินของวัดบวรนิเวศอยู่อาศัย ในปัจจุบันที่ดินจากวัดบวรนิเวศที่ถูกเช่านั้นถูกทำเป็นบ้านเช่าอีกต่อหนึ่ง เป็นสัญญาเช่าแบบรายเดือน เป็นบ้านเช่า หรือบ้านบางหลังก็ถูกซอยให้เป็นห้องเช่าเล็กๆ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาหางานทำ โดยราคาค่าเช่าตกเดือนละ 3,000-5,000 บาทตามแต่ขนาดของห้อง แต่บางส่วนก็ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นเกสเฮาส์ เนื่องจากด้านหนึ่งของชุมชนบวรรังษีตั้งอยู่ตรงข้ามกับตรอกข้าวสาร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ





ตรอกข้าวสาร 180162 by ฉี

ตรอกข้าวสาร 180162 by ฉี

ตรอกข้าวสาร 180162 by ฉี

ตรอกข้าวสาร 180162 by ฉี

ตรอกข้าวสาร 180162 by ฉี



ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่


ลักษณะบ้านเรือนส่วนใหญ่ในชุมชนบวรรังสีเป็นบ้านไม้สองชั้น และบ้านไม้กึ่งปูน สภาพทั่วไปของชุมชนจัดว่าแออัด มีทางเดินเท้ากว้างประมาณ 2 เมตร และมีทางเดินเท้าแยกเป็นซอยเล็กๆอีกกว้างประมาณ 1 เมตร ซอยทุกซอยเชื่อมถึงกันได้ การที่จะเข้าไปในชุมชนบวรรังษีสามารถเดินทางได้ 3 ทางคือ ทางด้านหน้าถนนราชดำเนินบริเวณศึกษาภัณฑ์สาขาใหญ่โดยเดินผ่านเข้าทางชุมชนมัสยิดบ้านตึกดินมาจนสุดทางจะพบทางแยกเลี้ยวซ้ายซึ่งเป็นชุมชนบวรรังษี ส่วนทางที่สองคือเดินตรงมาจากชุมชนดินสอ เมื่อสุดชุมชนดินสอก็จะพบชุมชนบวรรังษี และทางที่สามคือเข้าทางบางลำพู ใกล้กับวัดบวรนิเวศก็จะพบชุมชนบวรรังษีอยู่ทางซ้ายมือ




ชุมชนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชนบวรรังสี 180162 by ฉี


จำนวนประชากรในชุมชนบวรรังสีนั้นไม่สามารถระบุจำนวนแบบแยกเพศได้อย่างเด่นชัด จากการสำรวจและสอบถามประธานชุมชนพบว่าประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบวรรังสีเป็นแรงงานต่างด้าวประมาณ 90% ที่เข้ามาหางานทำ เนื่องจากชุมชนบวรรังสีนั้นใกล้กับบางลำพู ตรอกข้าวสาร ซึ่งประกอบอาชีพค้าขายได้สะดวก จึงทำให้ปัจจุบันมีคนจากต่างถิ่นย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนบวรรังษีจำนวนมาก โดยส่วนมากจะเป็นแรงงานต่างด้าว รองลงมาคือคนที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจากภาคอื่นๆในต่างจังหวัด เจ้าของที่แท้จริงนั้นจึงอยู่เพียงแค่ชื่อที่เป็นเจ้าของบ้านเช่า ไม่ได้อาศัยอยู่ภายในชุมชน และอสังหาริมทรัพย์ภายในพื้นที่มีการซื้อขายตลอดเวลา จึงไม่สามารถจำแนกประชากรแบบแยกเพศ และระบุจำนวนประชากรได้อย่างเด่นชัด




ปัญหาที่พบภายในชุมชน


ปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวล้นพื้นที่ ทางคนในชุมชนไม่อยากให้ชาวต่างด้าวอยู่ที่นี่เพราะมักจะก่อปัญหาต่างๆเช่นปัญหาด้านสุขอนามัยและความสะอาด แต่ปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวนั้นแก้ได้ยาก เพราะด้วยค่าแรงที่ค่อนข้างถูกและทนงาน ผู้ว่าจ้างจึงนิยมจ้างแรงงานเหล่านี้

ปัญหาเรื่องชุมชนแออัด ในเรื่องนี้ประธานชุมชนไม่ได้พูดถึง แต่จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่าในซอยตรอกบวรรังสีนั้นมีความแออัด บ้านทุกหลังอยู่ติดกัน มีซอยเล็กซอยน้อยเชื่อมถึงกัน

ปัญหาชาวต่างชาติเสพยาเสพติด ด้วยเพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึทำให้มีชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก มีเกสเฮาส์และโรงแรมรองรับ และพื้นที่เหล่านั้นก็กลายเป็นแหล่งมั่วสุมชั่วคราวของชาวต่างชาติพวกนั้น

ปัญหาเรื่องที่ดิน ตึก หรือค่าเช่าที่มีราคาแพง ด้วยเพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึงมีผู้ประกอบการร้านค้ามากมาย แต่ร้านค้าเหล่านั้นก้เป็นเพียงแค่ตัวโชว์เท่านั้น การซื้อขายจริงๆนั้นคือการซื้อขายตึก มีการเปลี่ยนเวียนเจ้าของและตัวเลขของราคาตึกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ค่าเช่าอะไรต่างๆก้แพงตามไปด้วยจนส่งผลถึงค่าครองชีพที่ต้องเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาเหล่านี้ก็แก้ได้ยากเพราะเจ้าของตึกเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ อำนาจการต่อรองค่อนข้างสูง

เรื่องปัญหาด้านอื่นเช่นปัญหาการจราจรนั้นไม่พบว่ามี ชุมชนบวรรังสีเป็นพื้นที่ที่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก มีรถโดยสารสารธารณะจำนวนมาก ส่วนปัญหาเรื่องความสะอาดนั้นมีน้อยจนแทบไม่มี ด้วยเพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึงมีคนดูแลเรื่องความสะอาดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีปัญหาเรื่องขยะ แต่จากคำบอกเล่าของชาวบ้านได้ทราบว่าช่วงกลางคืนจะมานักท่องเที่ยวที่เมามาปัสสาวะรดกำแพงวัด

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประธานชุมชน นายสันติ เหลืองจินดา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562
และข้อมูลจากการลงพื้นที่เพิ่มเติมเม่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562




บทสัมภาษณ์ประธานชุมชนบวรรังสี


นศ : พอจะมีข้อมูลแบบแยกจำนวนชายหญิงไหมคะ?

ประธานชุมชน : จำนวนประชากรในชุมชนนี้ตัวเลขจะไม่ค่อยแน่นอน เพราะจะมีพวกไม่มีบัตร พวกต่างด้าวที่มาทำงานแถวถนนข้าวสารประมาณ 90% เลยนะ เพราะฉะนั้นจำนวนประชากรที่อยู่ในชุมชนแห่งนี้แบบแยกชายหญิงคงจะไม่ชัด คนไทยที่อยู่ตรงนี้ ตัวเลขคนไทยจริงๆแล้วน้อย เพราะว่าคนในบางลำพูร้อยนึงประมาณซัก 80-90% อันนี้คล้ายๆประมาณตลาดสดของคนบางลำพู เพราะคนที่อยู่ที่นี่ค่าโครงสร้างมันแพงมาก ที่นี่ตารางวาริมถนนเนี่ย ตารางวาละประมาณล้านห้าถึงสองล้านต่อตารางวา ถ้ามีที่ตรงนี้สักยี่สิบตารางวา เอาให้เค้าเช่า แล้วเจ้าของที่ออกไปอยู่ข้างนอกแบบคุณนายคุณหญิง แบบสบายๆ ให้มาทำงานที่นี่ใครจะอยู่ล่ะ มันมีแต่ชื่ออยู่ซะส่วนใหญ่ คนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินจริงๆจะไม่ได้อยู่ที่นี่ ที่นี้คนที่อยู่ที่นี่จริงๆก็จะเป็นคนต่างด้าว หลักๆผมที่อยู่ที่นี่ก็คือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นศ : ในเมื่อมีคนต่างด้าวเยอะอย่างนี้ มันมีปัญหาหรือว่าเกิดประโยชน์อะไรไหมคะ?

ประธานชุมชน : มีทั้งข้อดีข้อเสียไนเวลาเดียวกัน ต่างด้าวก็คือธรรมชาติแรงงานเราจ้างเค้าได้ถูก แล้วเค้าก็พูดหลายๆภาษาได้มากกว่าพวกเรา ใช้เงินเดือนประมาณหมื่นนึง หมื่นสอง หมื่นห้า พูดได้สี่ภาษา พม่า ลาว เขมร อังกฤษ ไทย แล้วก็มีความอดทนกว่า การต่อรองน้อยกว่า อันนี้เป็นสิ่งที่ดีนะ ส่วนสิ่งที่ไม่ดีมีมั้ย มันก็มีเช่น นำโรคภัยมา แล้วก็นำสังคมแบบเราทัศนาว่าของเขาได้ไหม ประเทศเราพัฒนามากกว่าลาวกว่าเขมรใช่ไหม ของเขาเราต้องย้อนหลัง 50 ปี ซึ่งเขาเอาสังคมแบบนั้นมาให้เรา อาหารการกินเขาอยู่กับโรงครัว ปิ้งๆย่างๆ เขาได้มาก็ซอยๆแล้วเสียบไม้ย่างเลยไม่ต้องล้าง ใส่ซอสซีอิ้วป๊อกๆแล้วก็ย่างเลย ย่างดำๆไหม้ๆมาเขาก็กินเลย อยู่ที่บ้านหนูคุณแม่ล้างแล้วล้างอีกให้กินไม่อร่อยนะ ต้องมากินอย่างเขานี้ถึงจะอร่อย แล้วไอ้เห็ดเนี่ย เห็ดหลายๆชนิดที่ย่างขายเนี่ย เขาใส่น้ำยากระตุ้นมาเพราะอยากให้มันสด มาถึงปั๊ปพม่ามันก็ไม่ล้างเพราะถ้าล้างมันจะเสียเวลาย่าง มาถึงเขาก็เสียบๆย่าง แล้งลุงก็มากิน ลุงก็เพิ่งรู้ นี่คือจุดไม่ดี แต่พออยู่นานๆเข้าเขาก็เริ่มปรับตามเรา เหมือนเราไปอยู่อเมริกานานๆเราก็จะกลายเป็นคนอเมริกัน จะสะอาดขึ้น หุ่นดีขึ้น กินดีขึ้น แต่พวกพม่าเขาจะอยู่นาน แล้วก็เขาจะมีสังคมที่ไม่ดี รุนแรง คือเวลาเขาทำอะไรเขาจะรุนแรงกว่าพวกเรา แต่คนพม่าเค้าจะมีวัฒนธรรมสูงกว่าเรานะ อย่างเช่นถ้าไปวัดพระแก้ว เขาจะนั่งเรียงแถวแล้วก็ไหว้กราบพระกัน เป็นร้อยๆคนก็กราบสวยงาม เขาถือเรื่องศาสนาเครื่องมากกว่าเรา ไอ้ที่ดีเขามี ไอ้ที่ไม่ดีเขาก็มี

นศ : จากที่หนูเดินเข้าไปในซอยเมื่อกี้ ส่วนมากจะเป็นบ้านปูนบ้านไม้ อยากรู้ว่าบ้านพวกนั้นเขาเป็นเจ้าของเองหรือยังไงเหรอคะ?

ประธานชุมชน : ส่วนใหญ่จะเช่านะ คนไทยก็ยังมีอยู่บ้างแหละ ทั้งหมดรอบเขตชุมชนบวรรังสีเนี่ย 400 กว่าหลังคาครัวเรือน ในซอยนี้ก็มีอยู่ประมาณซักไม่เกิน 30 ที่เป็นคนไทยอาศัยอยู่ ส่วนครัวเรือนอื่นๆมันกลายเป็นว่า แต่ละครัวเรือนเนี่ย มันซอยให้คนเช่าอยู่ พม่าเช่าอยู่ เดือนละสามพัน สี่พัน ห้าพัน อยู่กันหลังเล็กๆ เขาแค่อาศัยนอนเฉยๆ เขาก็อยู่ได้แค่อาศัยนอน ขอให้เมคมันนี่ได้ เขาเก็บเงินได้เค้าก็กลับบ้าน

นศ : แล้วอย่างนี้ต่างด้าวเขาทำงานพวกรับจ้างทั่วไปใช่ไหมคะ? แล้วคนไทยในซอยอย่างงี้อะค่ะ ส่วนมากเขาทประกอบอะไรกันเหรอคะ?

ประธานชุมชน : อันนี้เป็นเขตวังอะหนู นี่ถ้าหนูยืนอยู่นี่เดินวนข้ามถนนไปเรื่อยๆหนูจะกลับที่เก่า  อันนี้เป็นแหวนของกทม. เป็นของประเทศไทย พื้นที่ที่หนูนั่งอยู่เนี่ย ตรงที่หนูเดินเนี่ย เดินไปมันจะกลับที่เก่า เขาเรียกแหวน จะมีวัด วัง โรงเรียน บ้าน ศาสนา มีศาสนาพุทธคือวัดบวร อิสลามคือบ้านตึกดิน คริสตจักรเป็นโรงเรียนสตรีวิทย์ แล้วก็วัง ตรงนี้เป็นวังเป็นเขตอภัยทาน สมัยก่อนเวลามีคนทำผิดแล้วเจ้าเมืองจับได้ก็เอามาอยู่ที่นี่ ที่นี่คือทำสวนผักส่งให้คนในวัง เป็นเขตอภัยทาน ตอนนี้เค้าเรียกว่าช้างเหยียบงาพญาเหยียบดิน เจ้าแผ่นดินที่อยู่กรุงรัตนโกสินทร์ทุกคนต้องมาเยือน ช้างเหยียบงาเค้าเชื่อว่า ช้างตนไหนหรือช้างตัวไหนถ้าได้ยู่ตรงนี้ ยืนอยู่เฉยๆก็มีกิน ไม่ต้องทำอะไร มีคนเลี้ยง เลี้ยงเรื่อยๆงามันก็เริ่มยาว เดินไปก็เหยียบงา พญาเหยียบดิน คนที่เป็นเจ้าเป็นนายก็ต้องมาวัดบวร มาไหว้ เจ้าแผ่นดินก็ต้องมา สมมติว่าหนูได้รับสายสะพายตราตั้งต่างๆเนี่ย ก็คือได้ทางโลก หนูต้องเอาสายนั่นมาวัดบวรให้องค์สมเด็จพรมน้ำมนต์ด้วยมันถึงจะสมบูรณ์ บางคนไม่มาก็ได้แต่มันร้อนเขาเชื่อกันว่าจะอยู่ไม่ได้

นศ : เค้าก็ต้องผูกพันกับทางวัดบวรมากๆใช่ไหมคะ คนในชุมชนนี้?

ประธานชุมชน : เราอยู่ที่วัดบวร เราอาศัยวัดอาศัยวังอยู่ ทุกวันนี้ก็ต้องจ่ายให้วัดให้วัง ไม่ได้ต้องผูกพัน เราแค่อาศัยอยู่ ที่นี่มันมีมนานแล้ว เพราะวัดบวรเป็นวัดต้นรัชกาลที่สอง เป็นผู้แยกนิกาย ประเทศไทยมีสองนิกายคือมหานิกายกับธรรมยุติ เจ้าอาวาสวัดบวรมี*สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเจ้าอาวาสทราบใช่ไหม เป็นวัดเดียวที่ไม่เคยขาดสมเด็จ บางครั้งมีถึงสององค์ ในประเทศไทยเนี่ยบางจังหวัดยังไม่เคยมีเลย ทั้งจังหวัดไม่เคยมีแต่วัดนี้มีไม่เคยขาด
*พระสังฆราช

นศ : ในชุมชนนี้ จากที่หนูเดินหนูเห็นสักสองซอยหนูอยากทราบว่ามีกิจกรรมอะไรที่ทำร่วมกันไหมคะ?

ประธานชุมชน : แถวนี้เป็นชุมชนเขตในวัง เรียกมีความพร้อมมากกว่าชุมชนอื่น ด้านกิจกรรมจะเป็นเรื่องการทำธุรกรรมต่างๆ ด้านหัตถกรรมก็เป็นเรื่องตีทองแผ่นเป็นแห่งแรก ทำขนมเป็นแห่งแรกเพราะนี่คือวังไง เสื้อผ้าเป็นแห่งแรก มีทุกอย่าง มีโรงเรียนที่มีสมเด็จย่าอุปถัมป์

นศ : มีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนไหมคะ?

ประธานชุมชน : มีนะ มีอนามัย มีสาธารณสุขมาตรวจทุกสามเดือน ถ้าหากมีปัญหาเรื่องยุงลายหรือชาวบ้านมีปัญหาเรื่องไข้เลือดออกเนี่ย เราลงพื้นที่กันเลย พร้อม!

นศ : มีเครือข่ายมหาวิทยาลัยอะไรไหมคะ ที่เข้ามาทำกิจกรรมในชุมชน?

ประธานชุมชน : ทำแบบหนูอย่างงี้มีทุกเดือน พวกเด็กที่จะทำทีสิส มีธรรมศาสตร์ ศิลปากร มีจุฬา มีมาตลอด มันเป็นชุมชนที่ครบ ชุมชนพื้นที่หนึ่ง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าชุมชนอื่น กิจกรรมน่ะเราก็ทำกันตลอด เวลามีม๊อบมีระเบิดเค้าก็จะบอกทุกบ้านเลยว่าเก็บให้หมด กล่องเกิ่งอะไรเก็บให้หมดเพราะเราเป็นเขตพื้นที่หนึ่ง  เป็นเขตอันตราย ถ้าเค้ารบราฆ่าฟันกันเค้าก็มาฆ่ากันตรงนี้ จากนี่ไปจนถึงสี่แยกคอกวัว เราก็เป็นฝ่ายกลางที่คนเค้าเจ็บเค้าตายก็จะเอาเข้าไปในซอย พอทหารบาดเจ็บ ส่งมา เราก็ส่งเข้าวัด ออกหน้าวัดก็จบ ไม่ตามเอาเรื่องเพราะมันเป็นเขตอภัยทาน เป็นเขตที่มีการสวดมนต์เย็น เป็นการสวดศีลห้าให้ประชาชนทั่วไปฟัง เป็นเขตแรกของเขตพระนคร ตอนประมาณหกโมงเย็นจะเจริญศีลห้าให้แขกไปใครมาฟัง แล้วก็มีงานต่างๆเช่นงานสงกรานต์ เวลามีคนหายก็ประกาศหามันก็ออกไปทั่วเพราะมีหอกระจายข่าว พื้นที่อื่นไม่มีแบบนี้

นศ : ชาวบ้านแถวนี้รู้จักกันทั่วไปหมดใช่ไหมคะ?

ประธานชุมชน : คือมันดีนะ ที่นี่เป็นถนนที่มีกล้องวงจรปิดติดเยอะที่สุดในประเทศไทย กล้องที่ถนน หนูมองไปที่เสาดูดีๆมันจะมีเสานู่นเสานี่ มีกล้องเล็กกล้องน้อยเยอะแยะ โรงพักก็จะมีถ่ายไว้ตลอดเวลา

นศ : แปลว่าชุมชนนี้ก็จะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่งใช่ไหมคะ?

ประธานชุมชน : มันดีแต่ก็มีอันตรายตามมา มันติดได้เพราะว่ามันมีเหตุบ่อย มีปัญหาเยอะ มันเป็นเขตที่เปราะบางเรื่องการเมือง ที่ไหนมีปืนขายเยอะก็ต้องมีผู้ร้ายใช่มั้ย? เหมือนกัน

นศ : จากที่หนูเดินมา พบว่ามีชาวต่างชาติเยอะมาก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วย มีกิจกรรมอะไรที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไหมคะ?

ประธานชุมชน : เราก็ให้ความปลอดภัย ให้ความสะดวกในการเดินทาง การเดินทางสะดวกสบายจะไปไหนไปได้หมด มีแท็กซี่ตลอดเวลา มีช็อปเปอร์คันโตๆวิ่งเพื่อจะไปสนามบินภายในหนึ่งชั่วโมงก็มี มีหมด แต่มันไม่มีตัวเลขเป็นทางการเพราะมันไม่ได้เสียภาษี

นศ : อยากทราบปัญหาในชุมชนค่ะว่ามีเรื่องไหนที่เราพอจะช่วยแก้ไขได้บ้างไหมคะ?

ประธานชุมชน : ปัญหาในชุมชนค่อนข้างใหญ่ ลุงถามว่าไม่ให้ต่างด้าวอยู่ได้ไหม? ก็คงไม่ได้ เป็นเรื่องที่แก้ได้ยาก ควบคุมยาก ส่วนปัญหารองลงมาคือปัญหาชาวต่างชาติมาเสพยาเสพติด มีเกสเฮาส์ และเกสเฮาส์ที่เยอะที่สุดในประเทศไทยคือบางลำพู เขาก็ชอบมามั่วสุมกันที่นั่น การดูแลจากหน่วยงานก็มีนะ มีโครงการพื้นที่สามัคคีต่อต้านยาเสพติดมาดูแล ส่วนเรื่องสุขภาพก็มีสาธารณสุขมาออกหน่วยตลอดเวลาอยู่แล้ว แล้วก็เรื่องค่าครองชีพ ค่าเช่าพื้นที่ของที่นี่ ต้องการปรับให้มันถูกลงเพราะที่ดินมันแพง เจ้าของหรือผู้บริหารเป็นระดับสูง เป็นรายใหญ่ อำนาจการพูดคุยต่อรองก็ใหญ่ ชุมชนบางชุมชนเอาเงินคนทั้งชุมชนมาซื้อตึกที่นี่ตึกเดียวยังไม่ได้เลย เค้าซื้อกันเป็นพันล้าน อย่างหน้าผ่านฟ้าที่ซื้อขายกันทั้งตึก เฉพาะโครงแรกผมจำไม่ได้ ตัวเลขประมาณสองร้อยล้านกว่า ทั้งตึกสรุปแล้วทั้งงบประมาณประมาณแปดร้อยกว่าล้าน บางทีรวมทั้งชุมชนยังซื้อไม่ได้เลย อย่างตึกสองชั้นอย่างนี้ ที่ลุงอยู่นี่เป็นที่วัดนะหนู แต่ถ้าขาย น่าจะประมาณไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้าน ห้องแถวนี้ก็เหมือนไม่ใช่ธุรกิจของคนไทย แต่ว่าก็มีคนซื้อคนขาย กลายเป็นซื้อตึกขายตึก ธุรกิจร้านอาหารกลายเป็นตัวโชว์ เพราะงั้นถึงบอกมันไกลกว่าที่หนูจะช่วย..
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประธานชุมชน นายสันติ เหลืองจินดา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562



ภาพบรรยากาศในชุมชนและบริเวณโดยรอบ

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี
เบ๊วอย่ากินแมว!! ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี 
แมวกินไม่ได้นะเบ๊ว!!! ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี



ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี 
ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี



ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 180162 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชุนมัสยิดบ้านตึกดิน 050262 by ฉี

ชุมชุนมัสยิดบ้านตึกดิน 050262 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี

ชุมชุนบวรรังสี 050262 by ฉี
ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี

ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี

ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี

ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี

ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี

ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี

ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี

ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี

ถนนข้าวสาร 180162 by ฉี
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย(ที่ไม่มีจริง) 050262 by ฉี
วัดบวรนิเวศ 050262 by ฉี

วัดบวรนิเวศ 050262 by ฉี

วัดบวรนิเวศ 050262 by ฉี

วัดบวรนิเวศ 050262 by ฉี 
วัดบวรนิเวศ 050262 by ฉี
(ร้อน) วัดบวรนิเวศ 050262 by ฉี


นี่คือป้าย 050262 by ฉี

คอลมีมัสยิดบ้านตึกดิน 050262 by ฉี

ศูนย์สุขภาพภายในชุมชนบวรรังสี 050262 by ฉี

หนูมาโรงเรียนด้วยค่ะ แง๊นๆ 050262 by ฉี